วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)

                      ไฟลัมคอร์ดาตา(Phylum Chordata)




จากที่คาดว่าโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตมากกว่า 50 ล้านชนิด เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อแล้ว 1.7 ล้านชนิด เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง 43,853 ชนิด ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย และตั้งชื่อแล้ว 4,094 ชนิด นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก และมนุษย์อย่างยิ่ง 
มีลักษณะสำคัญที่พบในระยะเอ็มบริโอดังนี้
1. มีโนโทคอร์ด (notochord) ลักษณะเป็นแท่งยาวตลอดความยาวลำตัว มีความยืดหยุ่นตัวดีอยู่ระหว่างท่อทางเดินอาหารและท่อประสาท เป็นลักษณะที่พบในระยะตัวอ่อนของสัตว์ในไฟลัมนี้ทุกชนิด

2. มีท่อประสาทกลวงที่ด้านหลัง ซึ่งเจริญมาจากเน์้อเยื่อชั้นเอ็กโทเดิร์ม พบบริเวณด้านหลังเหนือโนโทคอร์ดในระยะเอ็มบริโอซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นสมองและไขสันหลังในระยะตัวเต็มวัย

3. มีช่องเหงือกบริเวณคอหอย ทำหน้าที่กรองอาหารที่ไหลผ่านเข้ามาพบในระยะตัวอ่อนของสัตว์กลุ่มนี้ทุกชนด และมีการปรับเปลี่ยนไปทำหน้าที่อื่นๆในระยะตัวเต็มวัย เช่น เป็นท่อยูสเตเชียน ต่อมทอนซิล ต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ ในคน เป็นต้น สำหรับฉลามและกระเบน จะยังคงมีช่องเหงือกอยู่ตลอดชีวิต

4. มีหาง เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากหนักบริเวณท้ายลำตัว พบในสัตว์ส่วนใหญ่ในไฟลัมนี้

สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งเป็น2กลุ่ม คือ สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

 สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง     สัตว์กลุ่มนี้ไม่มีโครงสร้างแข็งค้ำจุนภายในร่างกาย ตัวอย่างเช่น 
ยูรอคอร์เดต(Urochordate) เป็นสัตว์ที่มีถุงหุ้มลำตัว ประกอบด้วยสารคล้ายเซลลูโลส ตัวเต็มวัยไม่มีโนโทคอร์ด ไม่มีเส้นใยประสาทขนาดใหญ่บริเวณหลังและหางจะหดหายไปในระยะตัวเต็มวัย เช่น เพรียงหัวหอม



เพรียงหัวหอม

เซฟาโลคอร์เดต(Cephalochordate) เป็นสัตว์ที่ระยะตัวเต็มวัยมีท่อประสาทขนาดใหญ่ที่บริเวณหลัง มีโนโทคอร์ดยาวตลอดลำตัวและมีตลอดชีวิต มีช่องเหงือกและหาง สัตว์กลุ่มนี้ได้แก่ แอมฟิออกซัส ซึ่งมีขนาดเล็กอยู่ในน้ำตื้นชายฝั่งทะเล เช่น แอมฟิออกซัส(เพรียงลาย)


สัตว์มีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น2กลุ่ม คือ สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร และสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร
สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร เป็นสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาไม่มีขากรรไกร ส่วนใหญ่จะสูญพันธุ์ไปแล้ว ที่พบในปัจจุบัน คือปลาปากกลม ได้แก่แฮกฟิช(hagfish) เป็นปรสิตภายนอกของปลาหลายชนิด และแลมเพรย์(lampraey) มีรูปร่างคล้ายปลาไหล มีโครงร่างเป็นกระดูกอ่อนและไม่มีครีบคู่เหมือนปลาทั่วไป


แฮกฟิช


แลมเพรย์

สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ450-425ล้านปีที่ผ่านมา
ปลามีขากรรไกรที่พบในปัจจุบันมี2กลุ่ม คือปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อน
คลาสคอนดริคไทอิส(class chondrichthyes) เรียกสัตว์คลาสนี้ว่า ปลากระดูกอ่อน มีโครงร่างเป็นกระดูกอ่อนที่ยืดหยุ่นตัวดี มีขากรรไกรและครีบคู่ที่เจริญดี แลกเปลี่ยนก๊าซโดยใช้เหงือกภายนอก ออกลูกเป็นตัวปฎิสนธิภายในเซลล์


ฉลาม


กระเบน

คลาสออสติอิคไทอิส(class Osteicthyes) เรียกสัตว์คลาสนี้ว่า ปลากระดูกแข็ง พบดำรงชีวิตทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีโครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งที่มีสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟต ส่วนใหญ่มีผิวหนังส่วนใหญ่ปกคลุม มีครีบคู่ 2คู่ คือครีบอกและครีบสะโพก หายใจโดยใช้เหงือกมีแผ่นปิดเหงือกมีถุงลมช่วยควบคุมการลอยตัวในน้ำ ส่วนใหญ่มีการปฎิสนธิภายนอก


ปลาการ์ตูน


ปลาหมอสี



ม้าน้ำ

แต่ทว่า....ปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่ในปัจจุบันดำรงชีวิตในน้ำ โดยอาศัยแก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำ แต่มีปลากระดูกแข็ง2กลุ่มคือ ปลาที่มีครีบเนื้อและปลาปอด ที่สามารถหายใจจากอากาศได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ปลาทั้ง2นี้เป็นที่สนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการเพื่อมาดำรงชีวิตบนพื้นดิน โดยพัฒนาถุงลมมาเป็นปอดและครีบอกพัฒนาเป็นขาในสัตว์บก


ปลาปอด


ซีลาแคนท์ (ปลาครีบเนื้อ)

คลาสแอมฟิเบีย (class amphibia)  เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก(amphibain) แบ่งเป็น3กลุ่ม คือ กลุ่มซาลามันเดอร์ กลุ่มกบ งูดิน  สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นสัตว์เลือดเย็นมีผิวหนังเปียกชื้นทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ไม่มีเกล็ดปกคลุม มีการปฎิสนธิภายนอก ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำและหายใจด้วยเหงือกภายนอก เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะดำรงชีวิตบนบกและใช้ปอดหายใจ ยกเว้นซาลามันเดอร์บางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต


ซาลามานเดอร์


กบลูกดอกพิษ


งูดิน

คลาสเรปทิเลีย (class reptilia) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่าสัตว์เลื้อยคลาน(reptile)เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกที่ดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานที่รู้จักกันดีคือ ไดโนเสาร์ (dinosaurs) สัตว์เลื้อยคลานมีผิวหนังที่ปกคลุมด้วยเคราทิน(keratin) มีการหายใจโดยใช้ปอดมีการปฎิสนธิภายในร่างกายเพศเมีย และวางไข่ภายนอก


ไดโนเสาร์


จิ้งจก


จระเข้


เต่า

คลาสเอเวส (class aves) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่าสัตว์ปีก มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก โดยพบซากดึกดำบรรพ์ของ อาร์คีออพเทริกซ์ (Archaeopteryx) มีลักษณะเหมือนสัตว์เลื้อยคลานคือ มีเกล็ดที่ขา มีกรงเล็บ มีฟันและมีหางยาว เป็นต้น แต่ว่ามีขนเหมือนขนนก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอาร์คีออพเทริกซ์มีบรรพบุรุษร่วมกันกับนกในปัจจุบัน นกเป็นสัตว์เลือดอุ่นมีการปรับเปลี่ยนรูปร่างที่ช่วยในการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระดูกมีรูพรุน ทำให้มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง มีการปฎิสนธิภายในและออกลูกเป็นไข่


ลักษณะขนและกระดูกของนก


นกทูแคนโทโค


อาร์คีออพเทริกซ์



ฟอสซิลอาร์คีออพเทริกซ์

คลาสแมมมาเลีย (class mammalia) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม(mammal) เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไป สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจึงเริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในเพศเมียทุกชนิดมีต่อมน้ำนมทำหน้าที่ผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อนและมีขนปกคลุมตัว เนื่องจากเป็นสัตว์เลือดอุ่นอุณหภูมิร่างกายจึงค่อนข้างคงที่ มีการปฎิสนธิภายในร่างกายและส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแบ่งเป็น3กลุ่มใหญ่ดังนี้
กลุ่มมอโนทรีม (monotremes) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะโบราณคือ ออกลูกเป็นไข่ แต่มีขนและต่อมน้ำนม ตัวอ่อนฟักออกจากไข่จะเลียน้ำนมบริเวณหน้าท้องของแม่กิน ได้แก่ ตุ่นปากเป็ดและตัวกินมดหนาม เป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะในประเทศออสเตรเลียและนิวกินีเท่านั้น


ตุ่นปากเป็ด


  Echidna ตัวกินมดหนาม

กลุ่มมาซูเพียล(marsupials) สัตว์กลุ่มนี้จะตั้งท้องในระยะเวลาที่สั้นมาก ทำให้ลูกอ่อนที่คลอดออกมามีขนาดเล็กและจะคลานไปยังถุงหน้าท้องของแม่ซึ่งภายในจะมีต่อมน้ำนม มีหัวนมให้ลูกดูดนม ลูกจะอยู่ในถุงหน้าท้องจนกว่าจะเจริญเติบโตเต็มที่จึงจะออกจากถุงหน้าท้องของแม่ สัตว์กลุ่มนี้ เช่น โอพอสซัม จิงโจ้ โคอาลา เป็นต้น


โอพอสซัม


จิงโจ้


โคอาลา

กลุ่มยูเทเรียน (eutherians) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก ยูเทเรียนมีระยะการตั้งท้องนานกว่ามาซูเพียล ตัวอ่อนจะเจริญภายในมดลูกและรับสารอาหารจากแม่ผ่านรก ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ รวมทั้งกลุ่มไพรเมต


สิงโต


ฮิปโปโปเตมัส


ช้าง


เสือ

สุนัข


แมว

ไพรเมต (primate) เป็นสัตว์ที่อาศัยบนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ สัตว์กลุ่มนี้มีมือและเท้าใช้ยึดเกาะนิ้วหัวแม่มือพับขวางได้ มีสมองขนาดใหญ่ มีขากรรไกรสั้น ทำให้ใบหน้าแบนมีพฤติกรรมทางสังคมซับซ้อนยิ่งขึ้น
กลุ่มไพรเมตมีวิวัฒนาการแบ่งเป็น2สายคือ โพรซิเมียน(prosimian)และแอนโทรพอยด์(anthropoind) 

โพรซิเมียน เป็นสัตว์กลุ่มไพรเมตระยะแรกเริ่มที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ ลำตัวเล็ก ตากลมโตมีนิ้วมือ4นิ้วและออกหากินในเวลากลางคืน สัตว์ในกลุ่มนี้เช่น ลิงลม ลิงทาเซีย 


ลิงลม


ลิงทาร์เซีย


แอนโทรพอยด์ เป็นสัตว์กลุ่มไพรเมตที่มีนิ้วมือ5นิ้ว มองเห็นได้ดีในเวลากลางวัน สมองเริ่มมีขนาดใหญ่ และหน้าผากแบน สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ลิงมีหาง และลิงไม่มีหางและมนุษย์


ลิงมีหาง(ลิงบาบูนแมนดริล)


ลิงไม่มีหาง(ลิงกอริลลา)

ลิงมีหาง  ลิงมีหางได้แก่ ลิงโลกเก่าและลิงโลกใหม่
ลิงโลกเก่า อาศัยอยู่บนพื้นดิน พบในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ลิงโลกเก่ามีก้นเป็นแผ่น หนังหนา เกลี้ยง
ลิงโลกใหม่ อาศัยอยู่บนต้นไม้ มีแขนขายาวใช้ประโยชน์ในการปีนป่ายและห้อยโหน มีการแพร่กระจายอยู่ตามธรรมชาติในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้
สัตว์ทั้ง2กลุ่มหากินตอนกลางวันอยู่รวมกันเป็นฝูงมีการอยู่รวมกันโดยใช้พฤติกรรมทาสังคม โดยลิงเพศผู้ที่แข็แกร่งที่สุดจะได้เป็นจ่าฝูงและมีอำนาจควบคุมฝูงลิงทั้งหมด


ลิงโลกเก่า(ลิงแสม)

ลิงโลกเก่า(ลิงบาบูนแมนดริล)


ลิงโลกใหม่(ลิงแมงมุม)



ลิงโลกใหม่(ลิงทามาริน)

ลิงไม่มีหาง หรือเอพ (ape) มีการสืบเชื้อสายมาจากลิงโลกเก่า มีแขนยาวขาสั้นและไม่มีหาง สามารถห้อยโหนไปมาได้ มีเพียงชะนีและอุรังอุตังเท่านั้นที่ยังคงอาศัยบนต้นไม้ ลิงไม่มีหางมีสมองที่พัฒนาดีกว่าลิงโลกเก่ามาก สมองมีรอยหยักคล้ายมนุษย์ มีการสื่อสารระหว่างกลุ่มมีการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมดี มีการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว เช่น ชะนี ขณะที่ชิมแปนซีและกอริลลาดำรงชีวิตเป็นฝูงเล็กๆ มีจ่าฝูงเป็นผู้นำ


ชะนี


อุรังอุตัง


ชิมแปนซี


กอริลลา




















วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)

2.2 กลุ่มดิวเทอโรสโทเมีย ประกอบด้วย

        ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา(Phylum echinodermata)



Echinodermata มาจากคำกรีก (echinos +derm = spiny skin) แปลว่า ผิวหนังที่มีหนาม จึงเรียกว่าสัตว์ผิวหนามมีโครงร่างแข็ง ผิวชั้นนอกบางเป็นคิวทิน ผิวชั้นในเป็นหนังหนาที่ประกอบด้ยแผ่นแคลเซียมคาร์บอนเนตหุ้มโครงร่างแข็ง เป็นสัตว์ทะเลทั้งหมด พบประมาณ 7,000 สปีชีส์ ดำรงชีพอย่างอิสระ ไม่เป็นปรสิต ตัวอ่อนมีสมมาตรด้านข้าง แต่ตัวเต็มวัยมีสมมาตรตามแนวรัศมี ที่แตกต่างจากไฟลัมไนดาเรีย คือ มีจุดแบ่งที่แน่นอน เพราะฉะนั้นจึงจัดอยู่ในพวกสมสาตรด้านข้าง ปากอยู่ตรงกลาง มีรยางค์ยื่นออกไป อาจมี 5 แฉก หรือมากกว่า บางชนิดมีหนามแข็งยาวขยับได้
สัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น


ดาวมงกุฎหนาม


หอยเม่น


ดาวเปราะ


ดาวขนนกทะเล


ปลิงทะเล

ในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันพบว่าในปัจจุบันบดาวมงกุฎหนามมากขึ้นดาวมงกุฎหนามนี้เป็นผู้ล่าที่สำคัญของปะการัง จึงเป็นสาเหตุทำให้จำนวนปะการังลดลงในสภาพธรรมชาติ  แต่ในขณะเดียวกันจะมีผู้ล่าเป็นหอยสังข์แตรจึงมีส่วนช่วยลดจำนวนดาวมงกุฏหนาม

สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 5 Class ได้แก่ 
1. Class Asteroidea เช่น ดาวทะเล 
                                                      2. Class Ophiuroidea เช่น ดาวเปราะ 
                                                      3. Class Echinoidea เช่น หอยเม่น อีแปะทะเล 
                                                      4. Class Holothuroidea เช่น ปลิงทะเล 
                                                      5. Class Crinoidea เช่น พลับพลึงทะเล