วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)

                   ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)



   Mollusca มาจากภาษาละติน (molluscus = soft) แปลว่า นิ่ม หมายถึง ลำตัวนิ่ม จึงเรียกสัตว์ลำตัวนิ่ม สัตว์ในไฟลัมนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเล มีบางชนิดอาศัยในน้ำจืดและบนพื้นดิน เป็นสัตว์ที่มีลำตัวนิ่มแต่สามารถสร้างเป็นเปลือกแข็งที่เป็นสารประกอบพวกแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate)หุ้มลำตัวมีแมนเทิล (mantle) ทำหน้าที่สร้างเปลือกหุ้มลำตัวมีการไหลเวียนของน้ำเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สโดยใช้เหงือก มีทวารหนักและรูขับถ่าย บางชนิด เช่นสัตว์จำพวกหมึกที่ไม่มีเปลือกเเข็งเนื่องจากเปลือกแข็งได้หายไปในระหว่างการเกิดวิวัฒนาการ สัตว์ในไฟลัมมอลลัสคา เรียกโดยทั่วไปว่า มอลลัสก์ (mollusk) ที่รู้จักกันดี 
สัตว์ในไฟลัมนี้เช่น

หอยทาก


ทากเปลือย


หอยนางรม


หอยงวงช้าง


หมึกยักษ์


หมึกกระดอง

สัตว์ในไฟลัมนี้บางชนิดดำรงชีวิตแบบกินพืช เช่น หอยเชอร์รี่กัดกินต้นข้าว และบางชนิดกินสัตว์อื่น เช่น หมึกเป็นผู้ล่าสัตว์อื่น บางชนิดกินทั้งพืชและสัตว์และแพลงก์ตอน เช่น หอยสองฝา เป็นด้น
หอยและหมึก มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่การเป็นอาหาร เช่น หอยแมลงภู่ หอยแครง หอยลาย ขอยขมและหมึก ส่วนเปลือกหอยนำมาบดเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์เนื่องจากมีแคลเซียมสูง นอกจากนี้หอยบาชนิดยังทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ เช่น หอยเต้าปูน มีโครงสร้างคล้ายเข็มและถุงพิษทำให้คนที่ถูกพิษเป็นอัมพาต และหอยน้ำจืดอย่างเช่น หอยโข่ง หอยขม เป็นพาหะนำพยาธิมาสู่คน

สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 5 Class ได้แก่ 
1. Class Gastropoda เช่น หอยสังข์ หอยโข่ง หอยขม และหอยทาก
2. Class PolyPlascophora เช่น ลิ่นทะเล
3. Class Pelecypoda เช่น หอยกาบ หอยนางรม หอยแครง หอยเสียบ
4. Class Scaphopoda เช่น หอยงาช้าง
5. Class Cephalopoda เช่น หมึกกล้วย หมึกกระดอง หมึกสาย หมึกยักษ์





                                                                                                        

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส(Phylum Platyhelminthes)

    2.กลุ่มที่มีสมมาตรด้านข้าง
กลุ่มที่มีสมมาตรด้านข้างแบ่งเป็น2กลุ่มใหญ่ๆคือ กลุ่มโพรโทสโทเมีย และ ดิวเทอโรสโทเมีย
2.1 กลุ่มโพรโทสโทเมีย แบ่งเป็น2กลุ่มย่อยๆคือ กลุ่มที่มีตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์  และกลุ่มที่ตัวอ่อนมีการลอกคราบ
2.1.1 กลุ่มโพรโทสโทเมียและมีตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์ ประกอบด้วย

                             
             ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส(Phylum Platyhelminthes)
  Platyhelminthes มาจากภาษากรีก (platy + helminth = flat worm) หมายถึงหนอนที่มีลำตัวแบน 
สัตว์ในไฟลัมนี้มีลำตัวแบนบางจึงเรียกว่าหนอนตัวแบน(flat worm)มีขนาดแตกต่างกันบางกลุ่มไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  หนอนตัวแบนมีเนื้อเยื่อ3ชั้น มีทางเดินอาหารที่ไม่สมบูรณ์ และไม่มีโพรงลำตัวคือไม่มีช่องว่างระหว่างผนังลำตัวและผนังทางเดินอาหารยกเว้นพยาธิตัวตืดที่ไม่มีทางเดินอาหาร สัตว์ในไฟลัมนี้บางชนิดดำรงชีวิตแบบอิสระ เช่น พลานาเรีย แต่ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบปรสิต เช่น พยาธิใบไม้ ยาธิตัวตืด เป็นต้น 

สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่
1. Class Turbellaria เช่น พลานาเรีย ซึ่งดำรงชีพโดยหากินอย่างอิสระ
2. Class Trematoda เช่น พยาธิใบไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งดำรงชีพโดยการเป็นปรสิต
3. Class Cestoda เช่น พยาธิตัวตืด ซึ่งดำรงชีพโดยเป็นปรสิต
ก.ภาพถ่านแสดงทางเดินอาหาร  ข.ภาพวาดแสดงภาคตัดขวางลำตัว


พยาธิใบไม้


พยาธิตัวตืด





วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไฟลัมไนดาเรีย(Phylum Cnidaria)




                            กลุ่มที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง
         แบ่งเป็น2กลุ่ม ตามลักษณะสมมาตร   1.สมมาตรตามรัศมี   2.สมมาตรด้านข้าง
1.กลุ่มที่สมมาตรตามรัศมี
                                                                                                                                  
                           ไฟลัมไนดาเรีย(Phylum Cnidaria)
 สัตว์ที่อยู่ในไฟลัมนี้ เรียกว่าซีเลนเทอเรต (Coelenterate) เป็นกลุ่ม  ของสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ2ชั้น ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเลมีเพียงส่วนน้อยอยู่ในน้ำจืดสัตว์ในไฟลัมนี้มีรูปร่าง2แบบคือแบบโพลิบ(Polyp)เป็นรูปร่างคล้ายทรงกระบอกและ แบบเมดูซา(medusa)มีลักษณะคล้ายร่มหรือระฆังคว่ำมีช่องเปิดออกจากลำตัวช่องเดียว มีการล่าเหยื่อโดยใช้เทนทาเคิล  (tentacle)ที่เรียงอยู่รอบช่องปากและที่เทนทาเคิลมีไนโดไซต์(cnidosyte)เมื่อมีเหยื่อมาสัมผัสไนโดไซต์จะปล่อยเข็มพิษ(nematocyte)ใช้จับเหยื่อหรือป้องกันตัว

                                  
        สัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น  

                             
                                                             ซีแอนีโมนี


                             
                                                                 ปะการัง


                             
                                                           กัลปังหา

                              
                                                           แมงกะพรุน

                          
                           
                                                                   ไฮดรา

      สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่
  1. Hydrozoa ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็น Polyp บางช่วงเป็น Medusa อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (Colony) เช่น โอบีเลีย แมงกระพรุนน้ำจืด แมงกระพรุนลอย และไฮดรา
  2. Scyphozoa ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็น Medusa (รูปร่างคล้ายร่ม ว่ายน้ำได้อิสระ) เช่น แมงกระพรุนไฟ แมงกระพรุนจาน
  3. Anthozoa มีรูปร่างเป็นแบบ Polyp เท่านั้น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการสร้างสารหินปูนเป็นเปลือกหุ้ม เช่น พวกปะการัง หรือกัลปังหา

   หอยและหนอนตัวแบนบางชนิดกินสัตว์ในกลุ่มนี้เป็นอาหารและบางชนิด เช่น  แมงกะพรุนเป็นอาหารของคน บางชนิดดำรงชีวิตแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ปูเสฉวนที่นำซีแอนีโมนีมไว้บนเปลือกเพื่อป้องกันตัวเอง พวกปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตหลักที่ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแพร่กระจายพันธุ์ของสัตว์ทะเลที่เป็นแหล่งอาหารให้กับมนุษย์ เป็นกำแพงธรรมชาติเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นลมและกระแสน้ำ

ไฟลัมพอริเฟอรา(Phylum Porifera)


กลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟองน้ำ
ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)

   Porifera มาจากภาษาละติน (porudus + ferre = pore + bearing) หมายถึงสัตว์ที่มีรูพรุน                   สัตว์ในไฟลัมนี้ มีโครงสร้างร่างกายไม่ซับซ้อน ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ภายในลำตัวมีช่องให้น้ำเข้า   ขนาดเล็กและช่องน้ำออกขนาดใหญ่ ตัวเต็มวัยมักเกาะอยู่กับที่สามารถรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้  โดยฟองน้ำส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็มพบประมาณ 10, 000 สปีชีส์ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดพบ  ประมาณ 50 สปีชีส์ สัตว์ในไฟลัมนี้ได้แก่ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟองน้ำแก้ว

 ฟองน้ำแก้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟองน้ำ สัตว์

ฟองน้ำหินปูน

       สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่
  1. Class Calcarea ได้แก่ ฟองน้ำที่มีแกนแข็ง เป็นพวกหินปูน (CaCO3)
  2. Class Hexactinellida ได้แก่ ฟองน้ำที่มีแกนแข็งเป็นพวกแก้วหรือทราย (Silica)
  3. Class Demospongiae ได้แก่ ฟองน้ำถูตัวที่มีแกนอ่อนนุ่ม ประกอบด้วยสารประเภท Scleroprotien


                                          
                                                               การกรองอาหารของฟองน้ำ

ฟองน้ำที่เกาะอยู่กับที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์อื่นๆ ที่มีขนาดเล็ก หรืออาจเจริญเติบโตโดยอาศัยเกาะอยู่กับสิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะในแนวปะการังจะพบฟองน้ำเจรืญเติบโตอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ฟองน้ำยังเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น หอยฝาเดียว และปลาบางชนิดเป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กำเนิดของสิ่งมีชีวิต


                            
  สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรมีมากกว่า 1.7 ล้านสปีชีส์ ในจำนวนนี้เป็นแมลงประมาณ 6 แสนชนิด สัตว์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในแง่ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปยังผู้บริโภคระดับต่างๆ นอกจากนี้สัตว์ยังเป็นตัวทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีความสำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และก่อให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ 
  การกำเนิดของสัตว์
นักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า สัตว์น่าจะมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 1000 ถึง 580 ล้านปีที่ผ่านมา   แต่พบหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์น้อยมาก อาจเป็นไปได้ว่าสัตว์ที่เกิดขึ้นในยุคแรกๆ น่าจะมีร่างกายอ่อนนุ่ม     ไม่มีโครงสร้างแข็งแรงจึงไม่ปรากฏร่องรอยในซากดึกดำบรรพ์ แต่จะพบซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากในช่วงเวลาประมาณ540ล้านปี ระหว่างปลายมหายุคพรีแคมเบรียนและตอนต้นของยุคแคมเบรียน โดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบในยุคแรกๆเป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในไฟลัมไดนาเรียที่เหมือนไฮดราในปัจจุบันและจากหลักฐานต่างๆมีแนวคิดสนับสนุนไดว่าสัตว์น่าจะมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษพวกแฟลเจลเลต
ภาพลิ่นทะเลเป็นสัตว์ในไฟลัมมอลลัสคาโบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
 ลักษณะของสัตว์
สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มยูคาริโอตที่มีหลายเซลล์ ไม่มีผนังเซลล์ เซลล์จัดเรียงตัวกันเป็นเนื้อเยื่อ เป็นพวกเฮเทอโรโทรป(heterotroph) ที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น ทำให้สามาถดำรงชีวิตเป็นผู้บริโภคในระบบนิเวศได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวโดยการทำงานของเนื้อเยื่อประสาทและกล้ามเนื้อ
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันได้จัดกลุ่มสัตว์ออกเป็นไฟลัมต่างๆ
 ภาพที่ 20-63 สายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรสัตว์ 
   จากภาพแสดงสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรสัตว์มีเกณฑ์ในการจำแนกสัตว์ออกเป็นกลุ่มต่างๆ โดยพิจารณาลักษณะต่างๆของสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสารชีวโมเลกุล ดังนี้
               1. เนื้อเยื่อ  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริงได้แก่ ฟองน้ำ และกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์ส่วนใหญ่
               2. ลักษณะสมมาตร (symmetry) ของสัตว์แบ่งออกเป็น สมมาตรแบบรัศมี (bilateral symmetry )และสมมาตรแบบด้านข้าง (bilateral symmetry )  ซึ่งพบในสัตว์ส่วนใหญ่ โดยมีร่างกายแบ่งออกเป็นสองซีกตามระนาบแนวยาวที่เหมือนกันทุกประการ

 ภาพที่ 20-64 ลักษณะสมมาตร ก. สมมาตรแบบรัศมี ข. สมมาตรแบบด้านข้าง

                สัตว์ที่มีสมมาตรแบบด้านข้างมีการพัฒนาส่วนหัวเป็นศูนย์รวมของเนื้อเยื่อประสาทและอวัยวะรับสัมผัส ทำให้สัตว์เหล่านี้เคลื่อนที่หาอาหารและหลบหลีกศัตรูได้ดี ขณะที่มีสมมาตรแบบรัศมีส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตแบบเกาะอยู่กับที่ เช่น ปะการัง ซีแอนีโมนี เป็นต้น
                3. การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์  พบเฉพาะสัตว์ที่มีสมมาตรแบบด้านข้าง มี 2 แบบ คือ แบบ โพรโทสโทเมีย  (Protostomia ) พวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็นช่องปากและแบบ ดิวเทอโรสโทเมีย  (Deuterostomia)  พวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็นทวารหนัก ดังภาพที่ 20-65

 ภาพที่ 20-65 การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์ ก. โพรโทสเมีย ข. ดิวเทอโรสเมีย 

                  4. การเจริญเติบโตในระยะตัวอ่อน  พบในสัตว์กลุ่มที่มีช่องปากแบบโพรโทสโทเมียซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีระยะตัวอ่อนแบบ โทรโคฟอร์ (Trochophore) พบในสัตว์พวกหนอนตัวแบน ไส้เดือน ดิน ปลิง หอย และหมึก เป็นต้น และ เอคไดโซซัว(Ecdysozoa ) เป็นกลุ่มที่มีการลอกคราบขณะเจริญเติบโต ซึ่งพบในหนอนตัวกลมและสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา
 
ภาพที่ 20-66 ระยะตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์
สัตว์ที่พบและมีการจำแนกชนิดแล้วมีมากกว่า1.5ล้านสปีชีส์ พบได้ทุกแห่งหนบนโลกแม้ว่ากำเนิดของสัตว์ในระยะแรกจะอาศัยอยู่ในน้ำแต่เมื่อสภาพแวดล้อมบนผิวดินมีสภาพเหมาะสมทำให้สัตว์บางกลุ่มประสบความสำเร็จในการวิวัฒนาการมาดำรงชีวิตอยู่บนพื้นดินในบทความนี้จะยกตัวอย่างสัตว์บางไฟลัมที่มีบทบาทสำคัญ ดังนี้