วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กำเนิดของสิ่งมีชีวิต


                            
  สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรมีมากกว่า 1.7 ล้านสปีชีส์ ในจำนวนนี้เป็นแมลงประมาณ 6 แสนชนิด สัตว์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในแง่ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปยังผู้บริโภคระดับต่างๆ นอกจากนี้สัตว์ยังเป็นตัวทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีความสำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และก่อให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ 
  การกำเนิดของสัตว์
นักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า สัตว์น่าจะมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 1000 ถึง 580 ล้านปีที่ผ่านมา   แต่พบหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์น้อยมาก อาจเป็นไปได้ว่าสัตว์ที่เกิดขึ้นในยุคแรกๆ น่าจะมีร่างกายอ่อนนุ่ม     ไม่มีโครงสร้างแข็งแรงจึงไม่ปรากฏร่องรอยในซากดึกดำบรรพ์ แต่จะพบซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากในช่วงเวลาประมาณ540ล้านปี ระหว่างปลายมหายุคพรีแคมเบรียนและตอนต้นของยุคแคมเบรียน โดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบในยุคแรกๆเป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในไฟลัมไดนาเรียที่เหมือนไฮดราในปัจจุบันและจากหลักฐานต่างๆมีแนวคิดสนับสนุนไดว่าสัตว์น่าจะมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษพวกแฟลเจลเลต
ภาพลิ่นทะเลเป็นสัตว์ในไฟลัมมอลลัสคาโบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
 ลักษณะของสัตว์
สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มยูคาริโอตที่มีหลายเซลล์ ไม่มีผนังเซลล์ เซลล์จัดเรียงตัวกันเป็นเนื้อเยื่อ เป็นพวกเฮเทอโรโทรป(heterotroph) ที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น ทำให้สามาถดำรงชีวิตเป็นผู้บริโภคในระบบนิเวศได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวโดยการทำงานของเนื้อเยื่อประสาทและกล้ามเนื้อ
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันได้จัดกลุ่มสัตว์ออกเป็นไฟลัมต่างๆ
 ภาพที่ 20-63 สายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรสัตว์ 
   จากภาพแสดงสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรสัตว์มีเกณฑ์ในการจำแนกสัตว์ออกเป็นกลุ่มต่างๆ โดยพิจารณาลักษณะต่างๆของสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสารชีวโมเลกุล ดังนี้
               1. เนื้อเยื่อ  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริงได้แก่ ฟองน้ำ และกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์ส่วนใหญ่
               2. ลักษณะสมมาตร (symmetry) ของสัตว์แบ่งออกเป็น สมมาตรแบบรัศมี (bilateral symmetry )และสมมาตรแบบด้านข้าง (bilateral symmetry )  ซึ่งพบในสัตว์ส่วนใหญ่ โดยมีร่างกายแบ่งออกเป็นสองซีกตามระนาบแนวยาวที่เหมือนกันทุกประการ

 ภาพที่ 20-64 ลักษณะสมมาตร ก. สมมาตรแบบรัศมี ข. สมมาตรแบบด้านข้าง

                สัตว์ที่มีสมมาตรแบบด้านข้างมีการพัฒนาส่วนหัวเป็นศูนย์รวมของเนื้อเยื่อประสาทและอวัยวะรับสัมผัส ทำให้สัตว์เหล่านี้เคลื่อนที่หาอาหารและหลบหลีกศัตรูได้ดี ขณะที่มีสมมาตรแบบรัศมีส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตแบบเกาะอยู่กับที่ เช่น ปะการัง ซีแอนีโมนี เป็นต้น
                3. การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์  พบเฉพาะสัตว์ที่มีสมมาตรแบบด้านข้าง มี 2 แบบ คือ แบบ โพรโทสโทเมีย  (Protostomia ) พวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็นช่องปากและแบบ ดิวเทอโรสโทเมีย  (Deuterostomia)  พวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็นทวารหนัก ดังภาพที่ 20-65

 ภาพที่ 20-65 การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์ ก. โพรโทสเมีย ข. ดิวเทอโรสเมีย 

                  4. การเจริญเติบโตในระยะตัวอ่อน  พบในสัตว์กลุ่มที่มีช่องปากแบบโพรโทสโทเมียซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีระยะตัวอ่อนแบบ โทรโคฟอร์ (Trochophore) พบในสัตว์พวกหนอนตัวแบน ไส้เดือน ดิน ปลิง หอย และหมึก เป็นต้น และ เอคไดโซซัว(Ecdysozoa ) เป็นกลุ่มที่มีการลอกคราบขณะเจริญเติบโต ซึ่งพบในหนอนตัวกลมและสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา
 
ภาพที่ 20-66 ระยะตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์
สัตว์ที่พบและมีการจำแนกชนิดแล้วมีมากกว่า1.5ล้านสปีชีส์ พบได้ทุกแห่งหนบนโลกแม้ว่ากำเนิดของสัตว์ในระยะแรกจะอาศัยอยู่ในน้ำแต่เมื่อสภาพแวดล้อมบนผิวดินมีสภาพเหมาะสมทำให้สัตว์บางกลุ่มประสบความสำเร็จในการวิวัฒนาการมาดำรงชีวิตอยู่บนพื้นดินในบทความนี้จะยกตัวอย่างสัตว์บางไฟลัมที่มีบทบาทสำคัญ ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น